วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

โรคหูด


หูด
  • ใช้ยาสลัดได ทาวันละ ๑-๒ ครั้ง จนกว่าจะหาย 
  •  ยางมะละกอ ทาจนกว่าจะหาย 
  •  เปลือกสับปะรดด้านใน ถูบริเวณที่เป็น 
  •  กระเทียมกลีบใหญ่ๆ ปอกแล้วผ่า นำไปถูบริเวณที่เป็น

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

น้ำกัดเท้า


น้ำกัดเท้า
  • ใช้เนื้อหมากดิบผ่าแล้วทาที่ซอกนิ้ว และบริเวณที่เป็นแผล 
  •  เปลือกมังคุตตากแห้ง ฝนกับน้ำสารส้มทาตามบริเวณที่เป็นแผล 
  •  ใช้หัวไพล ๑ แง่ง ตำกลับเกลือนำมาใส่แผล 
  •  หอมผสมเกลือ ตำแล้วนำไปพอกแผล 
  •  ใช้ใบเทียนขยี้ แล้วทาบริเวณที่มีอาการวันละ ๓ ครั้ง

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรกับการรักษาโรคริดสีดวงทวาร


ริดสีดวงทวาร
  • ต้นผักบุ้งสดๆ หนัก ๑ กก. น้ำ ๑ ลิตร ต้มให้ผักบุ้งเละ เทเอากากทิ้ง ใส่น้ำตาลทรายขาว ๑๒๐ กรัม เคี่ยวให้ข้นเป็นน้ำเชื่อม รับประทานวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น 
  •  รับประทานฟ้าทะลายโจรครั้งละ ๓ เม็ด วันละ ๔ ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน 
  •  หัวไพลสด ยาดำ เกลือ เนื้อมะขามเปียก ปริมาณเท่าๆ กัน ตำผสมกันให้แหลก ปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานก่อนอาหาร ครั้งละ ๒-๓ เม็ด 
  •  มะขามเปียกผสมกระชาย กับเกลือ ต้มแล้วรับประทานก่อนนอน

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

อาหารเป็นพิษ


อาหารเป็นพิษ
  • ใบบัวบกสดและผักบุ้งสด ตำรวมกันคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำต้มอุ่นๆ สำหรับดื่ม 
  •  ยอดใบฝรั่ง ๒-๓ ยอด เคี้ยวแล้วกลืน

ปวดท้องขณะมีประจำเดือน


ปวดท้องขณะมีประจำเดือน
  • เหง้าขิงแห้ง พริกไทย ดอกดีปลี รากเจตพังฆี ลูกประคำดีความ ส่วนเสมอภาค บดให้เป็นผงชงดื่มกับน้ำร้อน ครั้งละ ๑/๒ ช้อนชา หรืออาจจะผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน 
  •  ต้นตะไคร้ ๕ ต้น ทุบให้แหลก นำไปต้ม เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มน้ำที่ได้ครั้งละ ๑ ถ้วยกาแฟ วันละ ๓ ครั้ง

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

อาการเบื่ออาหาร


เบื่ออาหาร
  • รากชะพลู ไม้จีน แก่นฝาง แห้วหมู มะแว้ง มะคำไก่ ส่วนเสมอภาค ชะเอมไทย ต้มรับประทานก่อนอาหารเช้า-เย็น 
  •   คั้นกุยช่ายและขิง เอาแต่น้ำให้ได้อย่างละ ๑/๒ ถ้วย แล้วนำไปต้มรวมกัน เติมน้ำตาลทรายเล็กน้อย แล้วดื่ม 
  •  ลูกสมอไทยสดนำมาดองกับเหล้า แช่ทิ้งไว้ประมาณ ๗ วัน รับประทานลูกสมอวันละ ๒ ลูก 
  •  ตากใบฟ้าทะลายโจรให้แห้ง บดให้ละเอียดเป็นผง ปั้นเป็นยาลูกกลอน รับประทานก่อนอาหารครั้งละ ๕ เม็ด  รับประทานมะระเป็นอาหาร 
  •  คั้นน้ำมะนาวและเหง้าขิงแก่ ให้ได้น้ำอย่างละ ๑/๒ ช้อนชา เติมน้ำผึ้งเล็กน้อย รับประทานก่อนอาหาร วันละ ๒ ครั้ง

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ท้องเสีย ท้องร่วง


ท้องเสีย ท้องร่วง
  • รับประทานรากหรือเหง้าของกระชาย 
  •  รับประทานเนื้อกล้วยน้ำหว้าดิบหั่นตากแห้ง 
  •  รับประทานเปลือกแห้งของทับทิมฝนกับน้ำ 
  •  รับประทานต้นผักเสี้ยน 
  •  ดื่มน้ำเปลือกมังคุตแห้งฝนกับน้ำ 
  •  รับประทานผลแก่ของสมอพิเภก 
  •  รับประทานรากส้มป่อยต้ม 
  •  ชงน้ำชาแก่ๆดื่ม แต่เมื่ออาการดีขึ้นแล้วให้หยุด เพราะมิฉะนั้นจะทำให้เกิดอาการท้องผูก 
  •  บดใบฟ้าทะลายโจรแห้งให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานครั้งละ ๕ เม็ด 
  •  ใบสะระแหน่ ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้า กรองดื่มแต่น้ำ 
  •  ผลมะเฟืองสุก ๕ ผล ตำให้แหลกคั้นให้ได้น้ำ ๑ ถ้วยชา เติมน้ำตาลทรายเล็กน้อยพอมีรสหวาน ดื่มครั้งละ ๑ ถ้วย

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

จุก เสียด ลมในลำไส้-กระเพาะอาหาร


จุก เสียด ลมในลำไส้-กระเพาะอาหาร
-          รับประทานเนื้อสับปะรด
-          นำผลมะตูมไปตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม
-          ตำหัวไพลให้ละเอียด เติมน้ำมะนาวเล็กน้อยแล้วรับประทาน
-          ใบและยอดอ่อนของตำลึง นำมาปรุงอาหาร
-          ใบชะพลู ๑๐๐ ใบ ต้มแล้วดื่มน้ำ
-          หั่นขิงแก่เป็นแว่น ๗ แว่น พริกไทย ๗ เม็ด ตำรวมกันให้ละเอียด ผสมกับน้ำ สำหรับดื่ม
-          แง่งข่าใหญ่ทุบให้แหลก ต้มน้ำดื่ม
-          ยอดและใบกะเพรา ๑ กำมือ ต้มน้ำให้เดือด ดื่มแต่น้ำ

กระวาน


กระวาน
ลักษณะทั่วไปของกระวาน
          กระวานเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน กระวานมี ๒ พวกใหญ่คือ กระวานแท้หรือกระวานเทศ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ส่วนอีกพวกคือ กระวานไทย พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถใช้แทนกระวานเทศได้ดี
          ผลกระวานมีน้ำมันหอมละเหย
สรรพคุณทางยาของกระวาน
-          ผลตากแห้งบดให้เป็นผง ชงดื่มกับน้ำอุ่นบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ช่วยขับเสมหะ
-          ใบช่วยลดไข้

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

กุยช่าย


กุยช่าย
ลักษณะทั่วไปของกุยช่าย
          กุยช่ายมีน้ำมันหอมระเหยและเกลือแร่หลายชนิด อุดมไปด้วยสารอาหาร ได้แก่ ธาตุเหล็ก เบต้าคาโรทีน วิตามินเอ และวิตามินซี มีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูก
          กุยช่ายมีกากใยอาหารสูง ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ แต่ย่อยได้ยาก จึงไม่ควรรับประทานเป็นจำนวนมาก
          กุยช่ายสามารถรับประทานได้ทั้งสุกและดิบ มีรสเผ็ดหวาน มีฤทธิ์ร้อน ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
สรรพคุณทางยาของกุยช่าย
-          รับประทานเป็นอาหารช่วยบำรุงไต ข้อต่อกระดูก
-          ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ
-          ใบและต้นสดคั้นเอาน้ำมาดื่มกับน้ำต้มสุก ช่วยรักษาอาการลำไส้หรือกระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน
-          ลำต้นคั้นดื่มกับน้ำต้มสุก บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
-          ลำต้นช่วยบำรุงธาตุ แก้บิดมีตัว
-          กุยช่ายต้มหรือผัดรับประทานเป็นอาหารกับตับหมู ช่วยบำรุงร่างกาย บรรเทาอาการไอเรื้อรัง เป็นหวัดเรื้อรัง
-          ใบประมาณ ๑๐๐ กรัม กับน้ำตาลทรายเล็กน้อย บดรวมกันจนละเอียด พอกบริเวณที่โดนน้ำร้อนลวก ช่วยรักษาแผล
-          น้ำต้มต้นกุยช่ายล้างบริเวณที่เป็นริดสีดวงทวารก่อนเข้านอนทุกวัน ช่วยรักษาแผลให้หายได้
-          ใบสด มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการลมพิษและบรรเทาอาการผดผื่นคัน

อาการปวดหลัง


ปวดหลัง
  • หั่นหัวตะไคร้ให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำไปตากแดดให้แห้งสนิท จากนั้นนำไปคั่วให้มีกลิ่นหอม นำไปชงกับน้ำร้อน สำหรับดื่ม 
  • เถาวัลย์เปรียง หั่นเป็นชิ้น นำไปตากแดด แล้วนำมาคั่วไฟ ชงกับน้ำร้อน สำหรับดื่ม

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

ไอ


ไอ
  • ต้มใบพลูในน้ำเดือด แล้วใส่เกลือนำมาดื่มแก้ไอ 
  •  เนื้อลูกมะขามป้อมสด ผสมกับเกลือ ตำให้แหลก ปั้นเป็นลูกกลอน สำหรับอม
  • เนื้อลูกมะขามป้อม กับผักส้มป่อยคั่วกรอบ ผสมกับเกลือ ตำให้แหลก ปั้นเป็นเม็ดสำหรับอม 
  •  นำหัวกระเทียม กับเกลือ ฝนกันน้ำมะนาว หรืออาจผสมดีปลีเข้าไปด้วย ใช้จิบแก้ไอ 
  •  ตำเหง้าขิง หอม และเกลือ ผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานบรรเทาอาการไอและละลายเสมหะ 
  •  จิบน้ำมะนาวผสมกับเกลือ 
  •  นำข่ามาทุบ แล้วฝานบาง บีบมะนาวเติมน้ำตาล อมไว้สักครูแล้วเคี้ยวกลืน 
  •  หัวหอมใหญ่ รับประทานกับอาหารหรือต้ม นำน้ำที่ได้มาดื่ม

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

เจ็บคอ

เจ็บคอ
  • ต้นใบบัวบก หนัก ๖๐ กรัม ใช้น้ำร้อนลวกพอสุก คั้นเอาน้ำอุ่นๆ อมกลั้วคอ 
  •  พริกไทยประมาณ ๘ กรัม บดละเอียด ผสมน้ำเดือด ๕๐๐ ซีซี อมบ้วนปากกลั้วคอ 
  •  เคี้ยวต้นสดของฟ้าทะลายโจร แล้วกลืนลงคอช้า 
  •  วุ้นว่านหางจระเข้ อมแล้วค่อยๆเคี้ยวพอแตก จากนั้นจึงค่อยๆกลืน อมเช้า-เย็น และก่อนนอน 
  •  มะนาวฝานเปลือก หั่นชิ้นเล็กๆ อมครั้งละ ๑ ชิ้น ค่อยๆเคี้ยวแล้วกลืน 
  •  มะขามป้อม จิ้มกับเกลือ 
  •  ลูกมะแว้งเครือสดๆ ๕ ผล เคี้ยวแล้วกลืนแต่น้ำ คายกากทิ้ง วันละ ๓ ครั้ง

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

กานพลู

กานพลู
ลักษณะทั่วไปของกานพลู
          กานพลูเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยจำนวนมาก จึงมีฤทธิ์ช่วยขับลม ฆ่าเชื้อโรค
สรรพคุณทางยาของกะเพรา
-          ดอกแห้งของกานพลู ประมาณ ๕-๑๐ ดอก ต้มกับน้ำนำไปดื่ม ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด
-          ดอกแห้งนำมาผสมเหล้าขาว อุดบรรเทาอาการปวดฟัน

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

กะเพรา


กะเพรา
ลักษณะทั่วไปของกะเพรา
          กะเพราเป็นไม้ล้มลุก ใบมีกลิ่นหอม ออกดอกเป็นช่อ มีดอกย่อย กะเพรามี ๒ ชนิด คือ ชนิดขาว และชนิดแดง ชนิดขาวจะมีกิ่งก้านและใบสีเขียว ส่วนชนิดแดง ลำต้น ใบ กิ่งก้าน จะมีสีม่วงแดงคล้ำ
          กะเพราที่นำมาทำยาจะเป็นชนิดสีแดงเสียเป็นส่วนใหญ่ มีเบต้าคาโรทีนและธาตุเหล็กจำนวนมาก มีรสเผ็ด หวาน ฤทธิ์อุ่น
สรรพคุณทางยาของกะเพรา
-          รับประทานกับอาหาร ช่วยเพิ่มน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร และแก้อาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ
-          ใบนำมาโขลกแล้วคั้นน้ำมาดื่ม แก้อาการปวดท้อง
-          รับประทานเป็นอาหารช่วยป้องกันหวัด
-          รับประทานใบเป็นอาหาร ช่วยลดความเครียด ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
-          ใบนำมาต้มดื่ม แก้โรคหอบหืด ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น
-          นำใบมาขยี้ ทารักษาหูด กลาก เกลื้อน
-          ใบกะเพรา ล้างให้สะอาด ๑ กำมือ นำมาโขลกให้แหลก ผสมกับเหล้าขาว มารักษาลมพิษ และพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
-          ใบกะเพรา นำมาขยี้แล้วทาที่หัวหูดบ่อยๆ จะทำให้หัวของหูดฝ่อและยุบหายไป มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย
สรรพคุณทั่วไปของกะเพรา
-          กิ่งกะเพราวางไว้จะช่วยไล่ยุงได้

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

กระเทียม


กระเทียม
ลักษณะทั่วไปของกระเทียม
          กระเทียมเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นอยู่ใต้ดิน มีน้ำมันหอมละเหย ทำให้กระเทียมมีรสเผ็ดและมีกลิ่นหอม และสารอไลซิน(Alicin) มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะ สามารถต้านเชื้อชนิดต่างๆ ได้หลายชนิด
          กระเทียมมีความระคายสูง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและตับไม่ควรรับประทานกระเทียมมากนัก
สรรพคุณทางยาของกระเทียม
-          รับประทานสดหรือเป็นแคปซูล จะช่วยลดปริมาณไขมันในเส้นเลือด
-          รับประทานสด ประมาณ ๑๐-๒๐ เม็ด แก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว
-          รับประทานสดๆกับอาหาร ช่วยแก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร
-          ตำให้ละเอียดทาบริเวณที่เป็นกลาก เกลื้อน ช่วยรักษากลาก เกลื้อน
-          หัวกระเทียม ๒ หัว ตำพอบุบ เติมน้ำต้มสุกประมาณ ๑ แก้ว แช่ทิ้งไว้ประมาณ ๒ ชั่วโมง นำน้ำที่ได้มาล้างแผลที่เป็นหนอง จะช่วยให้แผลนั้นหายเร็วขึ้น
-          กระเทียมสด คั้นเอาน้ำแล้วเติมน้ำต้มสุก ๑๐ แก้ว ใช้หยอดจมูก ช่วยรักษาอาการหวัด

เหงือกบวม


เหงือกบวม(เหงือกอักเสบ)
  • สีเสียดเทศกับลูกเบญกานี ฝนกับน้ำ นำมาทาที่เหงือก 
  • ใบมะนาวต้มกับเกลือ นำมาอม 
  •  กานพลู ตำหยาบๆ ผสมกับเหล้าเล็กน้อย ใช้อุดฟันที่มีอาการ 
  •  ใบมะนาว ตำรวมกับเกลือ ใช้สำหรับอม 
  •  ใบผักกระเฉดน้ำ ตำผสมกับเหล้าขาว นำไปอุดฟันที่มีอาการ

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

แผลร้อนใน


ร้อนใน
  • ใบบัวบก กับน้ำซาวข้าว ต้มดื่ม แก้กระหายและร้อนใน 
  •  ใบมะกากับไพล ต้มดื่ม 
  •  ต้นผักกาดน้ำ ต้มกับน้ำตาลกรวด กินแก้ร้อนในแก้เจ็บคอ 
  •  แพงพวยสด ประมาณ ๑๐๐ กรัม ตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำผึ้ง อุ่นแล้วดื่ม 
  •  ใบบัวบกกับขิง โขลกรวมกันให้ละเอียด ละลายกับน้ำร้อน กินแก้ร้อนใน 
  •  ตะไคร้ทุบพอแหลก ต้ม ดื่มน้ำที่ได้ ครั้งละ ๑ แก้ว 
  •  คั้นน้ำมะนาว ๒ ผล ผสมกับน้ำเย็น ดื่มวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น 
  •  ใบขี้เหล็กอ่อน ๑ กำมือ ตำกับเกลือ คั้นเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยกาแฟ วันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น