วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ขิง


ขิง
ลักษณะทั่วไปของขิง
          ขิงเป็นไม้ล้มลุก มีเหล้าอยู่ใต้ดิน มีน้ำมันหอมละเหยที่เป็นสาระสำคัญในการออกฤทธิ์ยา  ขิงมีสารที่มีฤทธิ์ช่วยต้านแบคทีเรีย มีรสเผ็ด ฤทธิ์อุ่น ทำให้ร่างกายอบอุ่น ขับเหงื่อ ลดโคเลสเตอรอลที่สะสมอยู่ในตับและเส้นเลือด
สรรพคุณทางยาของขิง
-          ทุบพอแหลก ชงน้ำดื่ม หรือปรุงอาหารรับประทาน แก้จุกเสียด
-          ของแก่ สดหรือแห้ง ต้มน้ำดื่ม แก้คลื่นไส้อาเจียน
-          ทุบเหง้าให้แหลก ต้มกับน้ำตาลทราย ช่วยเจริญอาหาร
-          ฝนเหง้าสด ค้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไข้ สับเสมหะ
-          นำขิงแก่ล้างให้สะอาด ปอกเปลือก ฝานบางๆ ต้มกับน้ำให้เดือด กรองเอาขิงออก เติมน้ำตาลทราย ดื่มแก้อาการครั้นเนื้อครั้นตัว เนื่องจากหวัดหรือไข้หวัด
-          ขิงสด ปิดไว้ที่ขมับทั้งสองข้าง ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข่า


ข่า
ลักษณะทั่วไปของข่า
          ข่าเป็นพืชล้มลุกประเภทเหง้า สารเคมีที่สำคัญในเหง้าคือ น้ำมันหอมละเหย
เหง้าแก่จะมีปะโยชน์มากที่สุด มีรสเผ็ด ฤทธิ์อุ่น เป็นยาขับลมในกระเพาะอาหาร
สรรพคุณทางยาของข่า
-          ช่วยขับลม แก้ท้องเดินและอาเจียน
-          เหง้า ฝนเอาน้ำมาดื่ม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นหน้าอก
-          เหง้าสดแก่ๆ ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาวทารักษากลาก เกลื้อน ลมพิษ
-          เหง้าแก่ล้างน้ำให้สะอาด ฝนกับน้ำข้นๆ นำไปทาบริเวณที่เกิดอาการบวม ช้ำหรืออักเสบ
-          เหง้าแก่ๆ นำไปต้มกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
สรรพคุณทั่วไปของข่า
-          ช่วยดับกลิ่นคาวในการประกอบอาหาร
-          หัวข่าตำให้ละเอียดหรือทุบพอแหลก วางไว้ช่วยไล่แมลง

ขมิ้นชัน


ขมิ้นชัน
ลักษณะทั่วไปของขมิ้นชัน
          ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุก ไม้ประเภทเดียวกับว่าน มีน้ำมันหอมละเหย มีแป้งและไขมันเล็กน้อย มีรสเผ็ด ขม ฤทธิ์อุ่น การใช้ขมิ้นชันไม่จำเป็นต้องปอกผิวออกก่อน เพียงแค่ล้างให้สะอาดแล้วนำมาหั่นใช้ได้ทันที
สรรพคุณทางยาของขมิ้นชัน
-          หัวหรือเหง้าหั่นบางๆ ตากแดดให้แห้ง นำมาบดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นเม็ดรับประทานหลังอาหาร ก่อนนอน ช่วยขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร แต่ถ้ามีอาการท้องเสียต้องหยุดรับประทานทันที
-          รับประทานเป็นอาหาร มีสรรพคุณเป็นยาช่วยกระจายเลือดลม
-          ตำผสมกับเกลือพอกที่ชา รักษาอาการปวดขา
-          นำหัวหรือเหง้าไปตากแห้ง แล้วป่นเป็นผงละเอียด ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง แผลพุพอง ผื่นคัน และแมลงสัตว์กัดต่อย เพราะมีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรีย และเชื้อรา
-          เหง้าใช้ขยี้ดมแก้หวัด คัดจมูก
-          ขมิ้นจำนวนพอประมาณ ต้มจนได้น้ำข้นๆ ผสมกับน้ำดื่มเป็นประจำ แก้โรคกระเพาะอาหาร
สรรพคุณทั่วไปของขมิ้นชัน
-          นำหัวมาตำแล้วคั้นน้ำ กรองมาแต่งอาหารเป็นสีเหลือง